วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

งานจิตกรรม


1.งานจิตรกรรม หมายถึง งานที่แสดงออกมาบนพื้นระนาบ เช่น กระดาษ ผ้าใบ ฯลฯ โดยการขีดเขียน ป้าย ระบายหรือวิธีอื่น ๆ ด้วยเส้นและสี โดยใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน เกรียง นิ้วมือ หรือวัสดุอื่น ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความคิดสร้างสรรค์เป็นสำคัญ
รูปร่างและรูปทรงทางด้านงานหจิตรกรรมนั้นสามารถนำมาประยุกต์รูปแบบความคิดสร้างสรรค์ได้หลายรูปแบบ โดยลักษณะแล้ว รูปร่างและรูปทรงมีลักษณะคล้ายกัน บางทีก็ใช้สลับกันแต่เพื่อให้เห็นความแตกต่างเพื่อจะได้สร้างความนิยมชมชื่นได้ดียิ่งขึ้น จึงอาจจะกำหนดได้ว่ารูปร่างที่เห้นได้ถ้ามีลักษณะกว้างและยาวหรือเป็น 2 มิติ


เราจะเรียกกันว่ารูปร่าง แต่ถ้ามีลักษณะและกว้างยาวหรือเป็น 2 มิติ เราจะเรียกกันว่ารูปร่าง แต่ถ้ามีลักษณะกว้างยาวและหนาเป็น 3 มิติ เราจะเรียกรูปทรงและตกแต่งรูปภาพก็มีลักษณะเหมือนเป็นการแบ่งรูปร่าง กล่าวคือ เป็นรูปทรงธรรมชาติและรูปทรงเรขาคณิต
รูปร่างตามธรรมชาติ ได้แก่ รูปร่างที่มองเห็นแล้วรู้ว่าลักษณะเป็นอย่างไร เช่น รูปร่างของดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ คน สัตว์ ฯลฯ รูปร่างตามธรรมชาติจะแสดงออกทางการเห็นได้อย่างชัดเจนกว่ารูปทรงอื่น ๆ

รูปร่างเรขาคณิต ได้แก่ รูปทรงมีมุม ด้านและพื้นที่แน่นอน สามารถวัดและคำนวณเป็นตัวเลขได้ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม ฯลฯ รูปทรงเรขาคณิตนี้มีความเด่นชัดและมีความหมายแตกต่างกันตามยุคตามสมัยด้วย เช่น ในสมัยกรีกโบราณ รูปร่างกลม ถือว่าเป็นรูปร่างงามที่สุดและเป็นรูปร่างคงทนไม่มีเปลี่ยนแปลงเลย
2.ประติมากรรม ศิลปะทางประติมากรรม หมายถึง ผลงานที่แสดงออกต่อวัสดุแปรรูปได้ เช่น ดิน หิน ไม้ ฯลฯ โดยวิธีการแกะสลัก ปั้น หล่อ ถอดแบบพิมพ์ เป็นต้น ประเภทของงานประติมากรรมแบ่งออกได้ดังนี้
ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Baft – Relief )
เป็นรูปแกะสลักหรือรูปปั้นนั้นมองเห็นเฉพาะด้านหน้าเพียงด้านเดียว โดยแกะเป็นร่องลึกรอบส่วนนูนซึ่งนูนสูงขึ้นจากพื้นผิวเล็กน้อย จึงมีลักษณะส่วนรวม กลมกลืน เกือบแบน ตัวอย่างเช่น เหรียญและรูปสลักหินอ่อน เรื่องรามเกียรติ์ฐานผนังของโบสถ์วัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น
ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief )
เป็นรูปแกะสลักหรือปั้นมองเห็นด้านหลังเพียงด้านเดียว แต่นูนสูงจากพื้นผิวหรือนูนมากว่าแบบนูนต่ำ ตัวอย่างเช่น รูปสลักที่ฐานทั้งสี่ด้านของอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief )
เป็นรูปแกะสลักหรือปั้นมองเห็นรอบด้านเหมือนกับสภาพจริง ซึ่งอาจจะมีรูปทรงเหมือนจริงตามธรรมชาติ ( Realistic Form ) หรือเป็นแบบดัดแปลงจากธรรมชาติ ตามความคิดสมัยใหม่ในลักษณะรูปทรงนามธรรม ( Abstract Form)
3.สถาปัตยกรรม หมายถึง งานด้านการออกแบบสิ่งก่อสร้างและการสร้างเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยสาธารณสถาน หรือสถานทางศาสนาและรวมถึงการวางผังเมือง เป็นรูปแบบศิลปะที่ตอบสนองความต้องการงานประโยชน์ใช้สอย และยังมีรูปแบบคุณค่าทางความงามผสมผสานกันด้วยงานสถาปัตยกรรมถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์แห่งการก่อสร้าง เพราะต้องอาศัยความรู้ทางการคำนวณ หลักทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับหลักทางศิลปกรรม

บางท่านอาจสงสัยว่า สิ่งก่อสร้างที่เป็นสถูป เจดีย์ ปรางค์ เป็นสถาปัตยกรรมที่สนองคุณประโยชน์ด้านใดเพราะไม่เหมือนบ้านเรือน แต่เนื่องจากความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็นความต้องการใหญ่ ๆ 2 อย่าง คือ ความต้องการทางกายและความต้องการทางจิตใจ ฉะนั้นความต้องการทั้งสองอย่างนี้จะสะท้อนออกมาทางสถาปัตยกรรม คือความต้องกรทางกาย ได้แก่ อาคารบ้านเรือน ส่วนสถูป เจดีย์ ปรางค์ นั้นคือความต้องการทางจิตใจ เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อความเชื่อความศรัทธาของมนุษย์ดังนี้เหตุผลเกี่ยวกับการใช้เนื้อที่ และบริเวณในสถาปัตยกรรมสร้างขึ้นสนองความเชื่อและศาสนาซึ่งไม่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเพราะสถาปัตยกรรมบางอย่างสร้างขค้นโดยไม่หวังใช้เนื้อที่ภายในเลย เป็นสถาปัตยกรรมใช้ศึกษาค้นคว้าทางรูปแบบตามอิทธิพลและความเชื่อศรัทธาต่อศาสนา

วิธีการสร้างสถาปัตยกรรม แต่เดิมนั้นยุคแรกๆ จะเน้นเพื่อความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ยังไม่ได้เน้นถึงความสวยงาม ต่อมาจึงคิดรูปแบบได้ซับซ้อนมีการเขียนแบบก่อนลงมือก่อสร้าง ตลอดจนคิดคำนวณถึงเรื่องของน้ำหนัก แสง ยึดถึงสถานภาพทางภูมิศาสตร์กระแสทางลมพัดผ่าน และความเชื่อถือก็จะทำให้รูปแบบของสถาปัตยกรรมแตกต่างกันออกไปด้วย ปัจจุบันนี้รูปแบบง่ายๆ เป็นแท่ง เป็นกล่องไม่รุงรัง ไม่คำนึงถึงธรรมชาติมากนัก เพราะความเจริญทางเทคโนโลยี สามารถทำให้มนุษย์เอาชนะธรรมชาติได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ จึงมีส่วนทำให้มนุษย์สร้างรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้ตามความต้องการ วัตถุที่ใช้ทำงานทางสถาปัตยกรรมนั้น จะมีความแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น หินไม้ อิฐศิลาแลง ซีเมนต์ เป็นต้น
4.วรรณกรรม หมายถึง งานทางการประพันธ์ต่างๆ เพื่อตอบสนองความสุขทางใจและเป็นคติธรรม ประเภทของวรรณกรรมแบ่งได้ดังนี้

ร้อยแก้ว (Essay) เป็นตอนเรียงธรรมดาไม่ต้องการให้เกิดการสัมผัสคำ แต่มีใจความสละสลวยมีสาระเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เรียงความและนวนิยาย เป็นต้น ร้อยกรอง (Poetry) เป็นคำประพันธ์ที่ใช้รูปแบบสัมผัสคำ เพื่อให้เกิดความไพเราะคล้องจองกัน ได้แก่ โคลง ฉันท์ ร่าย กาพย์ กลอน เป็นต้น ผู้สร้างศิลปะ ประเภทวรรณกรรมเรียกว่านักประพันธ์ (Author) วรรณกรรมนั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะคือเป็นความงามภาษา (Aesthetic Language) เป็นความไพเราะทางอรรถรสของภาษาความสละสลวยอยู่ที่การสัมปัสคล้องจองกันนของถ้อยคำ และมีความหมายลึกซึ้งกินใจหรือมีเรื่องราวทรงคุณค่าทางคติธรรม ผญาภาษิต คำสอนสิ่งเหล่านี้เป็นความงามของภาษาทั้งสิ้น


ดนตรีนาฏศิลป์ หมายถึงศิลปะที่แสดงออกในลีลาท่าทาง การแสดงการร่ายรำต่างๆ และการแสดงออกทางเสียงท่วงทำนองมีจังหวะหรือต่ำเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจทั้งสิ้น เพื่อให้เกิดความต้องการมีความสุข และมีอารมณ์คล้อยตามกับการแสดงศิลปะประเภทนี้ ศิลปะประเภทนาฏศิลป์ ได้แก่ การร่ายรำ ฟ้อนรำ หรือการละคร แต่จะนิยมเรียกรวมๆ ว่า “ระบำ รำ เต้น”

ระบำ ได้แก่ ศิลปะที่ผู้แสดงรำพร้อมกันเป็นหมู่ เช่น ระบำเปิดโรงชุดเมขลา รามสูร ชุดเทวบุตร เป็นต้น และมักจะเป็นศิลปะเฉพาะท้องถิ่น เช่น การรำแบบเอกลักษณ์ไทยทางภาคต่างๆ
รำ ได้แก่ศิลปะอย่างการรำเดี่ยว รำคู่ รำประกอบเพลงหรือจะเรียกว่าเป็นการแสดงที่เป็นเรื่องราวมีพระเอก นางเอกและตัวประกอบต่าง ๆ จินตลีลา
เต้น ได้แก่ศิลปะแห่งการยกขาขึ้นให้เป็นจังหวะ เช่น เต้นโขน รามเกียรติ์ เป็นต้น

ศิลปะประเภทดุริยางคศิลป์ ได้แก่การขับร้องและการบรรเลงต่างๆ มี 3 ลักษณะคือ
การขับร้องและการบรรเลงดนตรี (Singing and Orchestra)
การขับร้องผสมดนตรี (Concert)
การขับร้องผสมดนตรีและฟ้อนรำ (Performance) ศิลปินผู้แสดงงานประเภทนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ เราเรียกว่า คีตากร

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ

1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม
3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน


คลิ๊กที่รูป เพื่อดูภาพใหญ่

สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ
2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียนว่า สถาปนิก (Architect)

เว็บไซต์เพิ่มเติม
http://www.architecture.com
www.architecturemag.com
www.architectureweek.com